เรื่องของแขก
หนึ่งในประสบการณ์ที่ทั้งสนุก แปลก และไม่ซ้ำใครในโลกการบินของนักบินแอร์ไลนส์อย่างพวกกระผมก็คือ การที่ต้องบินผ่านน่านฟ้าประเทศอินเดียและปากีสถาน โดยที่เส้นทางบินจากเมืองไทยไปยุโรปทั้งไปและกลับจะต้องบินผ่านน่านฟ้าประเทศอินเดียหรือปากีสถานแน่นอน เรื่องสนุกๆก็เลยเกิดขึ้นบ่อยๆให้ได้ฮากัน
คนอินเดียเป็นชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว แต่ฟังยาก เพราะจะพูดภาษาอังกฤษแบบอมฮอลล์รสน้ำผึ้งผสมมะนาวในปากตลอด ตอนที่เริ่มเป็นนักบินการบินไทยใหม่ๆ เวลาที่ต้องติดต่อวิทยุกับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของประเทศอินเดียหรือปากีสถาน เป็นอะไรที่เครียดนิดๆเพราะต้องหาจังหวะติดต่อวิทยุให้ดีๆ มีเครื่องบินหลายลำบินผ่านน่านฟ้าอินเดียในเวลาเดียวกันกับที่การบินไทยบินผ่าน แต่ละลำก็เลยต้องชิงรักหักสวาทกันบ่อยๆเพื่อติดต่อวิทยุกับหอบังคับการบินแขกให้ได้ ถ้าโคไพล๊อตน้อยๆอย่างผมติดต่อไม่ได้ซักกะที ท่านกัปตันก็จะเริ่มขยับองคาพยพของท่านแบบว่าหงุดหงิดอ่ะ เรียกให้ได้ดิ ยิ่งทำให้กระผมยิ่งนอยด์เข้าไปอีก
ด้วยความที่อินเดียและปากีสถานมีน่านฟ้าที่กว้างมาก บางส่วนอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทร การติดต่อวิทยุผ่านระบบVHF(Very High Frequency) บ่อยครั้งจะไม่สามารถทำได้เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะทางในการส่งสัญญาณวิทยุ จำเป็นต้องใช้การติดต่อวิทยุในระบบHF(High Frequency) ซึ่งจะส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแต่จะมีเสียงรบกวนสูงมากๆ ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ท่านลองนึกภาพนักบินอวกาศติดต่อจากดวงจันทร์ลงมายังโลกของเรา เสียงประเภทซี้ดซ้าดผสมขากเสลดระหว่างพูดวิทยุ อารมณ์ประมาณนั้นเลยท่านผู้ชม
มีเรื่องตลกที่เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับประสบการณ์การติดต่อวิทยุกับแขกมาเล่าให้ฟังกันพอเป็นน้ำจิ้ม ด้วยความที่เครื่องบินบินผ่านน่านฟ้าอินเดียและปากีสถานเยอะมาก จึงเกิดอุบัติการณ์(Incidents)หรือ อุบัติเหตุ(Accidents)อยู่เนืองๆ หอบังคับการบินแขกก็เลยชอบคอนเฟิร์มว่าที่เราติดต่อมา พูดอย่างนี้จริงหรือป่าว มีเครื่องบินลำหนึ่งติดต่อวิทยุเข้ามา
นักบิน- กัลกัลตา กัลกัลตา ดิสอิส_______ คอลลิ่ง กู๊ดมอร์นิ่ง (Calcutta Calcutta,this is ______ calling, good morning.)
แขก- คอนเฟิร์ม กู๊ดมอร์นิ่ง?(Confirm good morning?)
นักบิน- เซย์อะเก๊น?(Say again?)
แขก- คอนเฟิร์ม กู๊ดมอร์นิ่ง?
นักบิน- ???????(งงแด๊กซ์)
ดูมันดิท่านผู้ชม ขนาดทักทายเฉยๆมันยังคอนเฟิร์มอ่ะ
แขก- คอนเฟิร์ม กู๊ดมอร์นิ่ง?(Confirm good morning?)
นักบิน- เซย์อะเก๊น?(Say again?)
แขก- คอนเฟิร์ม กู๊ดมอร์นิ่ง?
นักบิน- ???????(งงแด๊กซ์)
ดูมันดิท่านผู้ชม ขนาดทักทายเฉยๆมันยังคอนเฟิร์มอ่ะ
แล้วก็บ่อยครั้งที่มีการติดต่อวิทยุกันตลอดเวลา จนไม่สามารถจะเรียกเข้าไปได้เลย กว่าจะติดต่อได้ทำเอาเครียดเพราะใกล้จะลงจอดอยู่แล้วก็มี เพราะท่านเอทีซี(ATC Air Traffic Controller)ของแขก มักจะพูดยืดยาวเป็นฟอร์แมท พูดสั้นๆไม่เป็นอ่ะ
เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับแขกด้วยตัวเองอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อสักสิบห้าปีที่แล้ว วันนั้นต้องบินจากกรุงเทพไปสนามบินลาฮอร์(Lahore) ประเทศปากีสถาน ก่อนจะบินไป นักบินอย่างพวกกระผมต้องตรวจสอบสภาพอากาศที่สนามบินปลายทางว่าโอเคมั๊ย ดูแล้วโอเคนิ ทัศนวิสัยดี เลยออกเดินทางตามปกติ เที่ยวบินนั้นเป็นเที่ยวบินกลางคืนประเภทไปกลับเลย ไม่ลงค้างที่ลาฮอร์ เราเรียกกันอย่างประชดประชันว่าเป็นไฟลท์ข้ามคืน เพราะออกเดินทางจากกทม ประมาณหนึ่งทุ่ม กลับมาถึงเมืองไทยอีกทีเช้ามืดวันรุ่งขึ้น เหนื่อยโคตรเพราะทั้งนานและต้องอดนอน โดยเฉพาะพี่ๆน้องๆลูกเรือนี่แทบจะสภาพเป็นซอมบี้เมื่อจบไฟลท์ วันนั้นบินไปใกล้จะถึงแล้ว ผมเรียกวิทยุไปที่หอบังคับการบินของลาฮอร์ เพื่อขอทราบสภาพอากาศหรือทัศนวิสัย ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Visibility
ลาฮอร์ - นาว วิสิบิลิตี้ 30 กิโลมิเตอร์ ( Now visibility 30 kilometres)
ไทย - (เผลอดีใจ อากาศดี) แซ้งคิ้ว คอนเฟิร์ม ทรีซีโร่ กิโลมิเตอร์?(Thank you, confirm 30 kilometres?)
ลาฮอร์ - (ส่ายศีรษะไปมาเล็กน้อยเพื่อยืนยัน) แอฟเฟิร์ม แอฟเฟิร์ม (Affirm affirm)
ไทย - (เผลอดีใจ อากาศดี) แซ้งคิ้ว คอนเฟิร์ม ทรีซีโร่ กิโลมิเตอร์?(Thank you, confirm 30 kilometres?)
ลาฮอร์ - (ส่ายศีรษะไปมาเล็กน้อยเพื่อยืนยัน) แอฟเฟิร์ม แอฟเฟิร์ม (Affirm affirm)
บินเข้ามาเรื่อยๆเกือบจะลงจอดอยู่แระ มองดูข้างนอก ทำไมหมอกควันมันหนาจิงวะ ชักเอะใจ เลยถามกลับไปใหม่
ลาฮอร์ - ไอคอนเฟิร์ม วิสิบี๊หลี่ตี่ ทรีซีโรมิเต่อร์ ทรีซีโร่มิเตอร์ ( I confirm visibility 30 metres, 30 metres)
ไทย - !@#$%^^&*(หอยหลอด 30เมตรเนี่ยนะ)
ไทย - !@#$%^^&*(หอยหลอด 30เมตรเนี่ยนะ)
ลงจอดไม่ได้อ่ะ ทัศนวิสัยต่ำเกินไปที่จะทำการลงจอดด้วยความปลอดภัย เลยต้องเปลี่ยนแผนการบินไปลงจอดที่สนามบินการาจีแทนก่อน ไปนอนกินโรตีอยู่คืนนึง ถึงจะบินกลับมาส่งผู้โดยสารลงที่ลาฮอร์ได้สำเร็จ เฮ้อ! เจอแขกข้ามคืนอย่างนี้ เหนื่อยอย่างแรงเลยอินินายจ๋า!!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น